top of page

How to paint oil colors(วิธีวาดภาพสีน้ำมัน Advanced)


Lesson of oil color

การเขียนสีน้ำมันต้องเตรียมอุปกรณ์หลายอย่างครับ

1. ผ้าใบเขียนรูป (CanVas) , Gesso 2. พู่กันกลม แบน ดินสอ 3. สีน้ำมัน จานสี ผ้าเช็ด 4. เกียงผสมสี( E-10 SEIKAI ) 5. ลินซิสธรรมดา(Linseed Oil) หรือแห้งเร็ว(Liquin) 6. น้ำมันสน 7. วานิชสำหรับเคลือบภาพ

เทคนิคก่อนลงมือวาด

1. วางแผนก่อนว่าเราต้องการให้ภาพของเราออกมาในรูปแบบไหน ความรู้สึกอย่างไร แล้วก็ลงตามแผนครับ เพราะหากใจร้อนไม่วางแผนก็อาจพลาดได้ง่ายๆ เช่น คลุมโทนสีของภาพไม่อยู่ ข้อแนะนำ: การวาดสีน้ำมันภาพเหมือน portrait ต้องมีพื้นฐานมาจากการ Drawing บ้าง ต้องแม่นสัดส่วน แสงเงา ไม่อย่างนั้นทั้งภาพและสีจะเพี้ยนได้

2. ในขณะที่วาดต้องรอจังหวะของสี โดยมี 3 จังหวะคือในขณะที่สียังเปียก,สีใกล้แห้งหมาดๆ และ แห้งสนิท ซึ่งอยู่ในกระบวนการวางแผนการใช้สี ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์จากการฝึกฝนและสังเกตุด้วยตัวเอง

3. บีบสีเรียงให้ป็นระเบียบ เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างครับ เพราะจะทำให้ง่ายและเร็วในการผสมสี อีกทั้งสีของคู่ตรงข้ามจะได้ไม่ปนกัน สีที่ใช้(ในสไตล์ของผมและแนะนำในบทเรียนนี้)

ส่วนใหญ่แล้วผมจะเขียนภาพเหมือนสีน้ำมันผมจะใช้สีของ WInsor & newton คงเป็นสาเหตุเพราะผมฝึกและคุ้นเคยมากับสียี่ห้อนี้ แต่ช่วงระยะหลังๆ ผมจะลองเทียบสีกับยี่ห้ออื่นดูครับว่าใกล้เคียงกันหรือเปล่า หรือหากหาไม่ได้จริงๆก็เอามาผสมสีเอา เพราะบางสีแม้ชื่อเดียวกันแต่สีไม่เหมือนกันครับ ซึ่งเวลาเขียน Portrait แล้ว ส่วนใหญ่จะเน้นความคุ้นเคยในอดีตที่ฝึกฝนมา แบบที่ต้องการวาด ภาพนี้เป็นภาพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครับ ผมเริ่มร่างภาพวันที่ 4 ต.ค.2560 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสำคัญวันหนึ่งของการได้รับอิสระภาพ คือวันที่ 4 ตุลาคม 2313 วันที่อาณาจักรธนบุรี ได้ถูกสถาปนาเป็นราชธานีแห่งใหม่ หลังจาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่า เมื่อพระองค์ทรงเห็นสภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมหนัก ยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิมได้ ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเมืองหลวงอีกต่อไป จึงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ในวันที่ 4.11.2313 โดยภาพนี้เป็นภาพจากจินตนาการ ซึ่งผมตั้งใจจะวาดภาพนี้เพื่อสื่อให้เห็นถึงอารมณ์แห่งความมุ่งมั่นของจอมทัพในให้มากที่สุด สำหรับอารมณ์ที่ผู้ชมสัมผัสได้อย่างไร ก็แล้วแต่จินตนาการของท่านเลยครับ

เทคนิคการใช้สีและจับคู่สี

มาดูเบอร์สีที่ผมใช้นะครับ ผมจะถนัดเรียกเป็นเบอร์ๆไป เวลาบีบสีในจานก็เรียงตามนี้เลย เริ่มตั้งแต่ สีขาว ใช้เบอร์ 40 titanuim white ครับ เนื้อจะขุ่นๆหน่อยไม่ขาวปิ๊งมาก ตามด้วย สีเหลือง เบอร์ 8 Cadmuium Yellow Pale Hue เหลืองส้ม เบอร์ 9 cadmium yellow hue ส้ม เบอร์ 4 Cadmium Orange hue แดงเบอร์ 5 Cadmium red hue ม่วงเบอร์ 28 Mageta เขียวใบไม้เบอร์ 37 Sap green

และสีสำคัญที่ผมจะใช้เป็น BG ในภาพนี้คือ

ฟ้า เบอร์ 10 Cerulean Blue Hue น้ำเงิน เบอร์ 15 cobalt blue hue น้ำเงิน เบอร์ 21 French Uttramarine น้ำเงิน เบอร์ 33 Prussian Blue ม่วง เบอร์ 16 Cobalt Violet hue

เทคนิคพิเศษ คู่สีที่ใช้คู่กันแทนสีดำ

คือเขียว เบอร์43 และ แดงเบอร์ 1 ซึ่งผมไม่ค่อยใช้เหมือนกันครับ (ส่วนใหญ่สีคู่นี้จะใช้ผสมกันแทนสีดำในงานวาดภาพเหมือนจริง)

แต่ที่ไม่ใช้เลยคือ สีดำครับ ผมไม่ใช้เลย เวลาเจอค่าสีอื่นแล้วด้านสนิทเลยครับ บางเทคนิค บางคนจะมีสีน้ำตาลเบอร์ 3(Burnt Umber)หรือ สีเหลืองน้ำตาลเบอร์44 (Yellow Ochre) แต่ผมก็ไม่ใช้ ผมจะใช้สีผสมเอาครับ 28+4+21 จะได้ค่าของสีที่คลุมโทนสีได้ ภาพไม่หลุดเกิน

หรือบริเวณจุดที่ต้องการคลุมเฉดผมจะใช้เบอร์ 33+4 ก็จะได้สีเข้มขลังเลยครับ

วิธีการวาดภาพ Portrait เริ่มจากน้ำหนักลึกบนใบหน้าก่อนครับล๊อคตาก จมูก ปาก โครงหน้าให้เรียบร้อย ก็ใช้สีนี้ครับ เบอร์ 28+37 สีนี้จะเป็นสีน้ำหนักที่เข้มสุดในภาพนี้เลยครับ สาเหตุเพราะสีที่เราใช้ผสมกันเวลาโดนสีอื่นก็จะเข้ากันได้ง่ายครับ แล้วค่อยมาต่อสีเอาทีหลังเพิ่มเติมได้ ไม่ทำให้ผิวหนังเป็นแป้ง ไม่มีเลือดเนื้อน่ะครับ

แนะนำสีอีกคู่ที่ใช้ด้วยนะครับต่อไปเลย คือเบอร์ 4+37 ครับ ใช้ต่อสีกันไปกับพื้นเข้มที่เราลงไว้ก่อน ไม่ต้องตกใจนะครับว่า ทำไมหน้าดำจัง เดี๋ยวพอสีครบแล้วจะเห็นใบหน้าเลยครับว่าสีที่เราลงไปนั้นเข้มยังไม่พอ

จำไว้อย่างครับว่า อย่าเห็นอะไรก็ผสมขาวไปเรื่อย ไม่งั้นเดี๋ยวหน้าเป็นแป้งได้ง่าย อีกอย่างก็ตรงบริเวณ จมูก แก้ม คาง ปาก เราจะใช้สีแดงเบอร์ 5 ผสมเข้าไปด้วยนะครับ เวลาเจอกับ 40 แล้วจะใสทีเดียวครับ สำหรับบริเวณส่วนหัว เราจะใช้ เบอร์ (4+37)+9+40เข้าไปครับ ถ้าส่วนที่โดนแสง เราจะใช้ผลลัพท์ของ(4+37)+9+40=?+8+40 เข้าไปอีกครับ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ล๊อคส่วนที่เป็นเนื้อหนังให้หมดก่อน ทำแบบเดียวกันครับ คือใช้เบอร์ 28+37 ลงซอกลึกสุด แล้วใช้ 4+28+37 ลงไล่ต่อน้ำหนักมา เป็น 4+37>9+4+37=8+40หรือ9+40

มาถึงตรงนี้แล้วสังเกตุใบหน้านะครับว่า มืดเหมือนตอนลงน้ำหนักตอนแรกหรือเปล่า สาเหตุเพราะครั้งแรกสีที่เราใช้ลงเพื่อล๊อคภาพลักษณะเข้มจัด คงเป็นเพราะสายตาเราน่ะครับ พอเห็นขาวพื้นที่ใหญ่ๆ สีอื่นที่ใส่ลงก็อาจทำให้สีอื่นดูเข้มไปหมด เมื่อลงBG แล้วก็ลงผ้าและพื้นที่ต่างๆจนเต็มครับ เป็นอันเสร็จ รอบแรก อย่าเพิ่งไปเกลี่ยสีนะครับ เพราะเดียวสีอ่อนติดปลายพู่กันมา จะทำให้ไปกวนน้ำหนักเข้มหายไป สีที่แทรกตัวเข้าหากันแล้วค่าของสีจะพลอยหายไปด้วย ทิ้งไว้ 1 คืนครับ แนะนำ : 6 ขั้นตอนพื้นฐานการวาดภาพสีน้ำมัน

สายๆเช้าต่อมาก็ลองเอามือแตะๆภาพดูนิดน่ะครับว่ามันหนึบๆหรือยัง

อย่าให้แห้งหรือยังเปียกชุ่มอยู่เลย เขาเรียกว่าเก็บตอนหมาดๆน่ะครับเอาพู่กันเปล่าๆ ขนไม่เปียกไม่นุ่มเกินไป

มาเกลี่ยะรอยต่อของสีตอนที่มันหนึบๆนี่แหละครับบางเทคนิคเขาปาดเป็นทีพู่กันเลยไม่ต้องเกลี่ยครับ

ส่วนบางเทคนิคก็ต้องคอยปัด ยิ่งเขียนแบบรูปถ่ายนี่ (แบบป้ายหนังสมัยก่อน)จะมีค่าต่อของสีอยู่น่ะครับ

เทคนิคแบบนี้จะมีสีเฉพาะอยู่น่ะครับเวลาสีโดนกันนี่จะเป็นอีกสีหนึ่งทันทีเลยเช่นบริเวณหน้า และส่วนที่มีขนอยู่ จะใช้ฟ้าเบอร์ 10 เข้าผสมด้วยเวลาสีโดนกันจะกลายค่าเป็นอีกแบบครับ แต่สไตล์นี้จะอีกแบบหนึ่ง

เก็บตอนหนึบๆนี่ก็เพลินดีครับ ถ้าใครชอบต่อสี แทรกสีก็ได้เลย ตามสบาย จะเอาแบบ สีสันหลากหลายยังไงก็ได้เพราะสีที่หนึบหนับอยู่จะเข้ามาเบรคสีที่เราต่อไปโดยอัตโนมัติครับ

สำหรับทรงผมนี้ผมใช้เบอร์ 21 แทรกเข้าไปน่ะครับ จะเป็น 4+37+21(5-10%) แล้วก็ใช้พู่กันกลมค่อยๆแตะเกลี่ยะไปครับ เอาสีแรงๆเข้าแทรกแบบนี้ ถ้าภาพนี้แห้งก็เรียบร้อยเลยครับ สีจะหลุดออกจากน้ำหนักรวมของภาพทันที ต้องระวังและฝึกกะจังหวะดีๆครับ

จากนั้นก็เพิ่มน้ำหนักสีแสงขึ้นครับ แทรกเข้าไปตรงไหนน่าจะมีเลือดหน่อย หรือแสงเข้ามาแบบจึ๋งหนึบหน่อยก็ค่อยๆเพิ่มครับ ทำแบบเดียวกันทั้งภาพ แต่ต้องมีพื้นฐานของการวาดผ้า หรือวัตถุต่างๆมาเป็นพื้นฐานด้วย เพราะลักษณะของพื้นผิวและการสะท้อนของแสงเงาต่างกัน แนะนำ: พื้นฐานการวาดภาพ 7 เคล็ดลับที่จะทำให้คุณวาดรูปเก่งขึ้นใน 30 วัน

รออีกวันครับ...... หรือจนกว่าภาพจะแห้ง เราก็เอาสีที่สว่างสุดมาคัดภาพขึ้นครับ ค่อยๆคัดส่วนที่สว่างสุดขึ้นมา เพราะค่าสีเดิมแห้งไปแล้วครับ

ต่อสีไป เก็บงานไปเรื่อยๆนะครับ เดินลุกมาดูบ้าง วนรอบงานบ้าง ทำโน้นทำนี่แล้วกลับมาดูครับ

ตรงไหนที่สีไม่ต่อกันนักก็ใช้พู่กันแบนแหละครับ ค่อยๆปาดให้สีต่อกัน ปาดแบบปัดๆแหละครับ ให้สั้นที่สุด เอาแค่รอยต่อของสีก็พอ อย่าลากยาว

เมื่อเก็บรายละเอียดจนพอใจแล้ว ก็ต้องรอให้แห้งให้สนิทอีก1 สัปดาห์ ก่อนที่จะเคลือบด้วย วานิชเคลือบภาพสีน้ำมันซึ่งจะทำให้สีคงทนขึ้นไปอีก ซึ่งทำให้ในอนาคตภาพนี้สีจะไปเปลี่ยนเหลือง หรือเกิดรอยแตก สีหลุดจากผ้าใบหรือกรณีอื่นๆ

จากนั้นก็นั่งชื่นชมผลงานที่ท่านได้ลงมือสร้างสรรค์ขึ้นมาครับ

โดยภาพนี้วาดเสร็จเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2560 เสร็จก่อนวันคล้ายวันสำคัญที่จะถึง 1 เดือน คือ 28 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบดาภิเษกขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในทางพิธีการ จดหมายเหตุโหรระบุว่าเป็นวันอังคาร แรมสี่ค่ำ จุลศักราช 1129 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 และพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรีขณะพระชนมายุได้ 34 พรรษา เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา ทรงครองราชย์ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา ทั้งสิ้น 30 พระองค์

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดิน ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา และในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ซึ่งเป็นกษัตริย์สยามที่มีเชื้อสายจีน ที่ชาวไทย ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนต่างเทิดทูนสักการะมากว่า 250 ปี

กระผมหวังว่าบทเรียนการวาดภาพสีน้ำมันระดับ Advanced นี้ คงสามารถ ช่วยสร้างทางลัดสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับการวาดภาพสีน้ำมันได้ ซึ่งหากท่านคิดว่าเป็นประโยชน์ ก็แชร์ส่งต่อถึงผู้ที่กำลังศึกษาเรียนรู้ เพื่อบทความนี้จะได้เป็นประโยชน์กับผู้คนที่สนใจได้มากที่สุดครับ -------------------------------- "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวรทรงปราบดาภิเษกขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310ไ ด้รับความเคารพบูชาอย่างยิ่งโดยเฉพาะจากคนไทยเชื้อสายจีน มีการเรียกพระนามตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แต่อ่วงกง (鄭王公) หมายถึง กษัตริย์ชาวแต้จิ๋วที่ได้รับการเคารพบูชา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีชื่อเรียกขานกันในหมู่ชาวจีนว่า เตียซินตัด หรือ เตียซินตาด (爹信達) แปลว่า พ่อสินเจ้าเมืองตาก และยังมีชื่อที่ปรากฏว่า เจิ้งกั๋วอิง (鄭國英) แปลว่า วีรบุรุษของประเทศนามเจิ้ง

ตามหลักฐานจีน ก่อนเสด็จรับราชการเคยทรงประกอบอาชีพค้าขายต่อจากพระราชบิดา

และยังมีหลักฐานที่ส่อว่าเคยทรงเป็นพ่อค้าเกวียนมีรับสั่งได้คล่องแคล่ว ทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่า

ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น

และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ

ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง

(cr.wikipedia)

เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงใช้พระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์พระราชพงศาวดาร

กรุงศรีสัตนาคนหุต เรียกว่า พระเอกาทศรถ

พระราชพงศาวดาร ฉบับบพันจันทนุมาศ(เจิม) เรียกว่า พระบรมหน่อพุทธากูรเจ้าจดหมายเหตุกรุงธนบุรี

ในสมุดไทดำ ชื่อ พระราชสาสน์และสุภักษรโต้ตอบกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุต จศ.1140

ใช้ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตรและพระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวบรมนาถบรมบพิตร

ตอนปลายรัชกาล พระรัตนมุนี ได้ถวายนามใหม่ว่าสมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร

พระราชพงศาวดาร ฉบับหัตถเลขา เรียก สมเด็จพระบรมราชาที่ 4

พระนามเรียกตามหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เรียกว่า พระเจ้ากรุงธนบุรี

พระนามเต็ม คือ

"พระศรีสรรเพชร สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์ หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์ มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน"

หรือที่ประชาชนขนานนามว่า

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"

พ.ศ.2560 ช่วง 250 ปีกับกาลเวลาที่ล่วงเลยขอน้อมคารวะ ด้วยหัวใจที่ศรัทธากษัตริย์ไทยเชื้อสายจีนเพียง 1 เดียวแห่งกรุงธนบุรี

ติดต่อสอบถาม : About me

F e  a  t  u  r  e  d        P  o s  t s
R  e  c  e  n  t            P  o  s  t  s
S  e  a  r  c  h     B y     T  a  g  s
KEN_0985
17
KEN_0996
KEN_1010
KEN_0975
KEN_0941
KEN_0976
DSCF1126
03-1
DSCF1511
01
DSCF3114
DSCF3117
DSCF7689
019-333
017-333
DSCF7517
DSCF7503
060-333
136-333
135-333
125-333
131-333
021-333
DSCF7759
119-333
117-333
096-333(2)
095-333
089-333
085-333
013-333
DSCF7494
011-333
010-333
DSCF7311
007-333
DSCF7270
03โหลดแอฟ
DSCF7140
DSCF7161
DSCF7139
116-333
02
003
DSCF9974
DSCF9864
066-333
058-333
056-333
046-333
045-333
004-333
DSCF7185
bottom of page