top of page

ไม่มีวันลืมจาก 115 ปี ถึง วันที่ 13 ต.ค. 59


จาก 24 ตุลาคม 2444 ถึง 20 ตุลาคม 2559 10.10.59-20.10.59 ช่วงเวลาสำคัญที่ผมไม่มีวันลืมเลือน โดยเฉพาะวันที่ 13.10.59 เวลา 15.52 กว่า 115 ปีที่เป็นเพียงตัวอักษร 10 วันที่ได้กลั่นเอาประสบการณ์ทั้งหมดที่มี 10800 นาที หรือ 18 ชั่วโมงต่อวัน ที่ลงมือสร้างงาน ภาพพระแท่นศิลาอาสน์ในอดีตก่อนไฟป่าลุกลามจนไม่เหลืองานศิลปะดั่งเดิมเหลืออยู่ ถูกซ้อนทับจากห้วงเวลา จากปี 2444 - ปัจจุบัน 10.10.2559

ข้อมูลต่างๆถูกรวมรวมเรียบเรียง และคัดเลือกเพื่อวาดภาพสำคัญ

ข้อมูล 115 ปี ที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ และแวะศัการะ พระแท่นศิลาอาสน์ กำลังถูกเชื่อมต่อ เชื่อมโยงกันจากทุกฝ่าย

เมื่อข้อมูลทุกอย่างลงตัวผมก็เริ่มลงมือร่างแบบตามข้อมูล บวกจินตนาการถึงเหตุการณ์เรื่องราว ของวันนั้น 24 ตุลาคม 2444 ในวันที่ 11 ตุลาคม 2559 วันที่คนๆนั้น กำลังยืมมองเหตุการณ์นี้อยู่...

ภาพข้อมูลถูกรวมรวมทั้งหมดลงในภาพเดียว ทั้งภาพถ่ายในอดีตจริงที่มีอยู่ หรือตัวอักษรจากพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 ทั้งบรรยากาศ และเรื่องราวของบุคคลต่างๆที่ร่วมอยู่ ณ เวลานั้น ผมเริ่มลงสีในวันที่ 12.10.59 พร้อมกับข่าวใหญ่ระดับโลก เกี่ยวกับองค์รัชกาลที่ 9 ที่เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในเวลานี้จิตใจเริ่มสั่น และอยากให้เป็นแค่เพียงข่าวลือเหมือนที่ผ่านๆมา

13 ตุลาคม 2559 ผมลงพื้นสีภาพรวมจนเต็มภาพ วันนี้ผมวาดองศ์รัชกาลที่ 5 ในวันที่เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ในขณะที่ พระชนมมายุได้ 48 พรรษา ในความคิดของผมตอนนั้น ทัั้งทึ่งและชื่นชมในสิ่งที่กษัตริย์ของไทยแต่ละพระองค์ได้ทำ ณ เวลานั้นรอบๆบ้านของสยามเรากำลังตกเป็นเมืองขึ้นของทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ (โดยก่อนหน้านี้ วันที่ 4.10.59 ผมได้วาดภาพพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์อีกพระองค์ที่ทุ่มเทั้งชีวิตของพระองค์เพื่อสยาม เดือนนี้ผมกำลังย้อนอดีตเพื่อชมประบารมีของแต่ละพระองค์ที่ทุ่มเทเพื่อปวงชน)

ผมลงพื้นสีเก็บภาพรวมของภาพจนเสร็จ พร้อมกับข่าวที่ชัดเจนขององค์รัชกาลที่ 9 ขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้รอเพียงประกาศจากข่าวพระราชสำนักเพียงเพื่อหวังคำตอบที่ได้ ว่าเป็นเพื่อข่าวเท็จ

เวลา 20.00 น. ของวันที่ 13 ต.ค. 2559 ข่าวในพระราชสำนักแจ้งข่าว เสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศ รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ( รัชกาลที่ ๙ ) เสด็จสวรรคต เวลา ๑๕:๕๒ น. ณ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก รัตนโกสินทร์ศก ๒๓๕ ณ โรงบาลศิริราช พระชนมพรรษา ๘๙ ปี ทรงครองราชสมบัติได้ ๗๐ ปี พระองศ์ทรงครองราชย์วันที่ ๙ มิถุนายน ปี ๒๔๘๙ เมื่อพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ๐๘.๐๐ น. เช้าวันศุกร์ ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙พวกเราครอบครัว"(ชี)ศรีม่วง"

ยืนเคารพเพลงชาติไทยด้วยอารมณ์ที่ไม่เหมือนกับทุกวันที่ผ่านมา

บรรยากาศวันนี้แสนอึมครึม ดูหม่นหมองคงเพราะจิตใจที่ยังสั่น เวิ้งว้างไม่หาย

จากเรื่องราวของเมื่อวาน 13 ต.ค. 2559 และตั้งแต่วันนั้น ผมเขียนภาพด้วยน้ำตาที่ซึมออก ซึมเข้า และเห็นภาพของกษัตริย์แต่ละพระองค์ ในทุกพระราชกรณียกิจที่ทรงตรากตรำเพื่อปวงชนชาวสยาม จนกระทั่งถึงปวงชนชาวไทย เป็นการวาดภาพที่เต็มไปด้วอารมณ์ของการสำนึกในคุณของพระมหากษัตริย์ในแผ่นดินเกิด

ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเศร้าโศกและแสดงออกด้วยวิธีต่างกันไป สำหรับตัวผมคือ ต้องทำงานนี้ให้สมบูรณ์ที่สุดในเพื่อให้ทันตามกำหนดวันที่ 20 ตุลาคม 2559 ก่อนที่งาน 115 ปีเสด็จพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง จะมีขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม 2559 งานนี้ว่า 10,800 นาที ที่ทุ่มเททั้งวันทั้งคืน ที่ผมเองนอนเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมง

แผนงาน ประสบการณ์ ความมุ่งมั่น ที่เปลี่ยนจากน้ำตามาเป็นพลังงาน ทำให้งานชิ้นนี้ของผมออกมาได้สมบูรณ์และเต็มไปด้วยอารมณ์ที่พิเศษ ที่ไม่มีวันจะเกิดขึ้นอีกในชีวิตนี้ ภาพวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวงในอดีต ถูกสร้างให้ผู้คนได้ชมเป็นครั้งแรกหลังจากถูกไฟป่าเผา ธงช้างเผือก สัญลักษณ์สำคัญของสยามประเทศในอดีตถูกชูขึ้นเพื่อแสดงความเป็นอารยะประเทศ

20.10.2559 ผมนำผลงงานไปวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง พร้อมกันกับกลุ่มนักข่าวจากหลายช่อง ที่กำลังตามเรื่องราวการเสด็จประพาสสำคัญครั้งนี้

ผู้คนต่างเข้ามาชมภาพและถ่ายเก็บเป็นที่ระลึกก่อนวันงานที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 24.10.59 นี้

ขอขอบพระคุณสำหรับข้อมูล แนวคิด และการทุ่มเทเพื่องาน 115 ปีครั้งนี้ พระเดชพระคุณท่านพระวินัยสาทร เจ้าอาวาสวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง ขอบคุณพิเศษ ผอ.ราตรี เขมมงคล อดีตผอ.โรงเรียนคลองโพ

ผอ.ชำนาญเขมมงคล อดีตผอ.โรงเรียนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อ.สำรวย คล้ายชม อดีตอจารย์ ม.ราชภัฎอุตรดิตถ์ ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ทุ่มเทเพื่องานรำลึกสำคัญครั้งนี้ทุกท่านครับ ขอบคุณมากครับ

F e  a  t  u  r  e  d        P  o s  t s
R  e  c  e  n  t            P  o  s  t  s
S  e  a  r  c  h     B y     T  a  g  s
bottom of page