top of page

6 ขั้นตอนการวาดภาพสีน้ำมัน สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช


6 ขั้นตอนการวาดภาพสีน้ำมัน

ด้วยความบังเอิญ ที่ทำภาพเสร็จในวันนี้(4.10.59) และได้พบว่า..วันนี้ในอดีต เมื่อ 246 ปีช่วง พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช - ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่

ซึ่ง วันที่ 4 ตุลาคม เป็นวันที่ 277 ของปี

ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 88 วันในปีนั้น

ภาพนี้เริ่มต้น ในคืนพระจันทร์เต็มดวงเวลา 3.33 น. ณ เช้าวันที่ 14/09/59

ไม่มีสัญาณใดๆที่จะกำหนดให้เริ่มต้นวาดภาพนี้ในเวลานี้นอกจากต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมาเวลา 23.55 ก่อนเช้าวันที่ 14 จะเริ่มลงมือรางภาพ ลงสี และเสร็จสิ้นในวันที่ 4.10.59 น่าแปลกใจที่เป็นเวลา 15.33 น.(3.33น.)

ผมจึงตัดสินใจนำขั้นตอนโดยย่อมาแบ่งให้กับผู้สนใจ ที่พอมีพื้นฐานอยู่บ้างแล้ว ซึ่งการมีพื้นฐานและรู้จักสีอยู่ก่อนจะได้เปรียบอย่างมากครับ 1. กำหนดเส้นร่างให้เหมาะสมกับเฟรมที่จะวาดงาน โดยเราต้องมีภาพต้นแบบในจินตนาการอยู่แล้วว่าจะทำอย่างไร จากนั้นก็ลงมือร่างโดยเสก็ตซ์กำหนดแสงเงาไว้คร่าวๆ

2. ลงน้ำหนักสีในภาพรวม ซึ่งการลงน้ำหนักขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องเกลี่ยสี แต่เป็นการลงแบบต่อสีกันไปตามน้ำหนักของภาพ โดยลงจนเต็มทั้งภาพ

3. ทิ้งไว้สักระยะ รอจังหวะสีให้หมาดๆ ไม่เปียกเกินไปหรือแห้งจนเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลินซิสที่ใช้ว่าเป็นแบบธรรมดาหรือแห้งเร็ว หากแบบธรรมดาใช้ระยะประมาณ 1-2 วัน

4. เมื่อจังหวะของสีใกล้ที่จะแห้ง แต่ยังหนึบๆอยู่ (ลองใช้นิ้วมือเตะๆ) ให้แทรกสีเพิ่มแสงขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนของเงา ค่อยๆเพิ่มเติมและยังไม่ใช้น้ำหนักที่เข้มสุด

5. กำหนดรายละเอียดขององค์ประกอบในภาพคร่าวๆทั้งภาพ โดยค่อยๆเพิ่มน้ำหนักให้ชัดขึ้น

ในขณะเดียวกันต้องคอยตรวจสอบบรรยากาศของสีไม่ให้หลุดบรรยากาศออกไป

6. เก็บรายละเอียดของภาพทั้งภาพโดยเริ่มจากส่วนพื้นหลัง และจากนั้นก็กลับมาเก็บรายละเอียดระยะหน้าของภาพ จนเสร็จสิ้น

ภาพขั้นตอนการวาดสีน้ำมันของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

"ทุบหม้อข้าว เข้าตีเมืองจันทร์"

แม้ทำทุกหนทางมิอาจเอาชนะได้ สิ่งสำคัญคือหัวใจที่ต่อสู้สุดหัวใจสู้ของหัวใจ สู้ให้สุดใจ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬

"บัดเดี๋ยวนี้... ข้าว ปลาที่พวกเอ็ง ได้กินกันที่ตรงหน้านี้ จงเสพกันให้สำราญ ในอาหารมื้อสุดท้ายนี้ และเมื่ออิ่มหนำแล้วจง "ทุบหม้อข้าว" หม้อแกง" แลเสบียงทั้งหลายให้สิ้น

หากการรบในพรุ่งนี้หาใช่่ที่เราควรจะชนะได้

พวกเอ็งก็อย่าหวังจะหวนทางเก่าที่ร้างรก ไร้ซึ่ง "หม้อข้าว" ที่แหลกคามือเราเองนี้แล้วไซร้ ก็อย่าได้ให้อ้าย อี หน้าไหน มาได้เอาไปกิน แลหากจักมีอาหารในมื้อต่อไป

ให้พวกเอ็งจักอิ่มหนำสำราญได้พร้อมกับ..."เอกราช" ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่ช้า..”

......

"เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ .. เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือ และต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว"

.....

เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาว่าเมืองจันทบุรี เป็นเมืองหัวเมืองใหญ่ มีกำลังและเสบียงสมบูรณ์ จึงประสงค์จะยึดเมืองจันทบุรี ทรงใช้ จิตวิทยาโดยสั่งให้ทหารกินข้าวปลาอาหารให้อิ่ม แล้วให้ทุบหม้อ ข้าวหมอแกงทิ้ง เพื่อที่จะเข้าไปกินอาหารเช้าที่เมืองจันทบุรี

และในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2310 ก็สามารถตีเมืองจันทบุรีได้

....

ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ครั้นถึงเวลา 19.00 น.

เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้

เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณ พร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน ส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลง

ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป

ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ

เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้

เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลา ประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

F e  a  t  u  r  e  d        P  o s  t s
R  e  c  e  n  t            P  o  s  t  s
S  e  a  r  c  h     B y     T  a  g  s
bottom of page